วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

์Neo - Classic style

Neo - Classic Style




           สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคใหม่ (Neo-Classic) เป็นรูปแบบสถาปัยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเคลื่อนไหวของการเกิดศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เนื่องจากการเผด็จการทางการเมือง การต่อต้านการแบ่งชนชั้นในฝรั่งเศสและการที่ประชาชนได้รับความเจ็บปวดจากการเมือง ทำให้ชาวยุโรปตะวันตกหันมาสนใจในศิลปะแบบคลาสสิคอีกครั้ง ประกอบกับการที่การพัฒนาด้านวิทยาการวิทยาศาสตร์ด้านโบราณคดีที่มากขึ้น เพราะขุดค้นพบเมืองกรีกโบราณ คือ เมืองเฮอคูลาเนียน (1738) และเมืองปอมเปอี (1748) ได้ ซึ่งพบศิลปะวัตถุที่มึค่า 
            ศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เริ่มต้นในช่วงยุคกลางของศตวรรษที่ 18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19
ซึ่งก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสมัยนั้นนิยมศิลปะแบบรอคโคโค และแบบบาร็อก ซึ่งมีลักษระที่ฟุ้งเฟ้อและมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก ในตอนต้นของยุคนี้จึงมีนำแนวความคิดรูปแบบศิลปะโบราณนำกลับมาใช้ใหม่ ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีแนวคิดและการสร้างงานโดยการนำงานแบบโบราณมาปรับปรุงเกิดเป็นรูปแบบใหม่แต่ยังเคารพในกฏเกณฑ์แนวคิดที่เป็นแบบแผนนั้น ศิลปะในยุคนี้จะย้อนกลับไประลึกงานสมัยโรมัน และโดยเฉพาะศิลปะในรูปแบบอุดมคติของกรีก และยังได้รับหลักการที่คงความเป็นเหคุเป็นผลของช่วงยุคเรเนสซอง ศตวรรษที่ 16 มาด้วย


งานสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic พบมากในยุโรปและได้รับความนิยมมากในฝรั่งเศส
รูปลักษณะที่ Neo- Classic นำมาใช้และสังเกตได้ (ซึ่งอาจไม่นำมาใช้ทั้งหมดที่กล่าว)
1.Symmetrical shape (รูปร่างที่สมมาตร)
2.Tall column that rise the full height of building หรือ colonian (เสาที่สูงขี้นไปจนเต็มความสูงอาคาร)
3.Triangular pediment (สามเหลี่ยมจั่วด้านหน้าอาคาร)
4.Domed roof (หลังคายอดโดม)

            สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากยุคกรีกที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกในยุค Neo-classic นี้ในยุโรปมาหลายศตวรรษ  คือ AVDREA  PALLADIO
             ซึ่งการออกแบบในยุคหลังจาก Neo-classic ได้มีการปรับใช้ให้เข้ากับประดยชน์ใช้สอยมากขึ้น เช่นนำมาปรับใช้เป็นอาคารทางราชการ เพราะเนื่องจากในยุคอาคารที่นิยมสร้างเป็นพวกอาคารทางศาสนา และที่พักสำหรับขุนนางหรือกษัตริย์
 
รูปแบบสถาปัตยกรรมยุค Neo-classic



รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุค Neo-classic ในต่างประเทศ

The White House ,Washington DC,USA,Goverment building : James Hoban

รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุค Neo-classic ในประเทศไทย

1.พระที่นั่งวโรภาษพิมาน (พระราชวังบางปะอิน)



                        
                     ถัดจากประตูเทวราชครรไลเข้ามาสู่เขตพระราชฐานชั้นนอก จะพบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปทาสีส้มแซมเขียวหลังงามองค์หนึ่ง จัดเป็นพระที่นั่งประธานท่ามหมู่พระที่นั่งทั้งหมดในพระราชวังบางปะอิน เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างของนายช่างอิตาเลียนนาม ซินยอร์กราซี (มิสเตอร์กราซี) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๑๙ พร้อม ๆ กับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
                  ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิก "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิ สติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคาร ทั้งนี้ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
                     พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน
                    สำหรับการตกแต่งภายในของพระที่นั่งวโรภาษพิมานนั้น เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ภายในมีสิ่งที่น่าดูน่าชมคือ อาวุธโบราณ ตุ๊กตาหินสลักด้วยงานฝีมือประณีต ภาพเขียนสีน้ำอิงพระราชพงศาวดาร ภาพเขียนจากวรรณคดีไทยเรื่อง อิเหนา พระอภัยมณี สังข์ทอง จันทโครพ และสิ่งประดับอันล้ำค่ายิ่ง ได้แก่ แจกันสลับสีเขียนลายทองขนาดใหญ่ฝีมือช่างชิ้นเอกอุของญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งล้วนเป็นของบรรณาการแด่องค์ยุวกษัตริย์ทั้งสิ้น

2.พระที่นั่งอนันตสมาคม
                          พระที่นั่งอนันตสมาคม เดิมเป็นท้องพระโรงของพรราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
                        พระที่นั่งองค์นี้ จัดได้ว่าเป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เพราะว่า ในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ รัฐสภาปัจจุบัน ซึ่งอยู่ข้างๆพระที่นั่งองค์นี้ รวมทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญๆมากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3.ศุลกสถาน : โรงภาษี


                   ศุลกสถานเดิมเป็นที่ของหลวงราชายสาธก ต่อมาได้ถูกยึดเพื่อหักใช้หนี้พระราชทรัพย์ เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินของบริเวณอาคารนั้น มีการเปลี่ยนแปลงถือกรรมสิทธิ์คือ ส่วนที่เป็นตึก 3 หลัง เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นที่อยู่ของฝรั่งชาวโปรตุเกส ชื่อนายเจ.เอน.เอฟ.ดาคอสตา รับราชการอยู่กรมศุลกากร มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชายสาธก (เป็นชื่อบรรดาศักดิ์ของกรมศุลกากร คู่กับขุนเสวกวรายุตถ์ ผู้เป็นน้องชาย) เมื่อหลวงราชายสาธกถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาแหม่มของหลวงราชายสาธก จึงอยู่ในที่นั้นต่อมา ภายหลัง ร้องทุกข์ขอเบี้ยบำนาญเลี้ยงชีพ โดยตกลงยกสิทธิ์ที่อยู่ให้แก่รัฐบาลเป็นการแลกเปลี่ยนกัน กรมศุลกากรจึงรื้อเรือนไม้สร้างเป็นตึกขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการศุลกากร เนื่องจากตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษีแต่เดิมนั้นไม่มี มีแต่เพียงด่านขนอนที่ตั้งเก็บอากรการผ่านเขต
                          ตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษี เริ่มมีเป็นครั้งแรก หลังจากไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งในตอนหนึ่งระบุว่าจะต้องปลูกโรงภาษีให้ใกล้ท่าจอดเรือพอสมควร ถึงแม้ว่าภายหลังจากสนธิสัญญาบาวริง ได้มีที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษีขึ้นแล้ว แต่ก็ทราบได้แน่นอนราวปี พ.ศ. 2428 ว่าที่ทำการศุลกาการเวลานั้น เดิมเรียกว่า โรงภาษีร้อยชักสาม หรือเรียกสั้นๆ ว่าโรงภาษีตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม เยื้องธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้แบงค์ปัจจุบัน ลักษณะของอาคารเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หันหน้าลงแม่น้ำ


                           ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่หลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาษีนี้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรย์ เพื่อทำตึกให้ฮ่องกงแอนด์เซียงไฮ้แบงค์เช่า (พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ถึงเจ้าพนักงาน พระคลังมหาสมบัติ ลงวันที่ 7 ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2430) จึงได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่อาคารเก่าศุลกากร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรักในปัจจุบัน ที่ทำการศุลกากร มีชื่อเรียกในหนังสือทางราชการว่า ศุลกสถาน แต่คนทั่วไปเรียกว่า โรงภาษี ร้อยชักสาม หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรงภาษี ส่วนชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวนหรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เหตุที่เรียกว่าร้อยชักสาม เพราะเดิมเรียกเก็บภาษีจากสินค้าต่างประเทศ ที่เข้ามาขายเพียงอัตราเดียว คือ เก็บเป็นภาษีตามราคาของสินค้าร้อยละสาม

                          สถานที่ตรงศุลกากรเดิมเป็นตึกจีน เป็นที่ของนายนุด อาหารบริรักษ์ ภายหลังตกเป็นของหลวง เมื่อย้ายมาอยู่ในทีแรกตั้งอยู่ที่ตึกจีนหลังกลาง ภายหลังจึงสร้างเป็นเรือนปั้นหยา 2 หลัง ตั้งอยู่คนละมุม หลังหนึ่งเป็นที่ทำการภาษีร้อยชักสาม ซึ่งพระยาภาศกรวงศ์ (ชุมพร บุนนาค) เป็นผู้บังคับบัญชา อีกหลังหนึ่ง เป็นที่บัญชาการภาษีข้าวขาออก ซึ่งพระยาพิพิธโภคัยเป็นผู้บังคับบัญชา แยกกันคนละส่วน แล้วจึงสร้างที่ทำการศุลกากร ให้ชื่อว่า ศุลกสถาน เป็นตึกซึ่งเห็นอยู่ทุกวันนี้

                         ตึกหลังนี้ มิสเตอร์กราสลี นายช่างชาวอิตาเลี่ยน เป็นผู้ออกแบบรับเหมาก่อสร้าง สร้างเสร็จภายหลังปี พ.ศ.2431 เพราะมีหลักฐานอยู่ในหนังสือ Bangkok Time Guide ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2433 กล่าวชมศุลกากรสถานที่สร้างใหม่ว่า เป็นสถานที่ที่งดงามแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำในที่สง่างาม มีเนื้อที่ราวๆ 2 - 4 ไร่ ใช้เป็นท่าเรือ กุดังสินค้า ตัวที่ทำการตึกเฉลียง ข้างที่อยู่เจ้าพนักงานและอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศุลกสถานโดยตรง ท่าเรือมีความสะดวก สำหรับขนถ่ายสินค้าจากเรือลำเลียง แม้เรือกลไฟใหญ่กินน้ำ ซึ่งก็สามารถเข้าเทียบท่ากลางขนถ่ายสินค้าได้ มีโรงพักสินค้าและที่ทำการเจ้าพนักงาน และมีรถรางขนาดเบา ซึ่งนอกจากใช้ในการขนสินค้า ยังใช้บรรทุกน้ำจากแม่น้ำ ไปจ่ายตามเรือนที่พักของเจ้าพนักงานในเวลานอกราชการ ตัวตึกใหญ่นั้นรูปทรงงดงาม มีสามชั้น โดยมากใช้เป็นที่ทำการของพนักงานกรมเกษตร (ชั้นที่สาม เดิมนัยว่าใช้เป็นที่เต้นรำของชาวต่างประเทศ เป็น เครื่องประดับมีกระจกเงาแผ่นใหญ่ๆ โคมระย้าแก้ว ฉากรูปแล้ว ฉากรูปสีน้ำยังเหลือสืบมา ได้รื้อถอนไปในราว 70 กว่าปีมาแล้ว) มีสะพานข้ามติดต่อกับที่ทำการศุลกากร ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น เป็นที่ทำการภาษีขาเข้าขาออก (ยังมีตัวหนังสือบอกว่า Import and Export Department ไว้ที่หน้าบันตัวตึกหลังนี้)

                         ที่ทำการกรมศุลกากร ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ Bangkok Times Guide Book ชมศุลกสถานว่า เป็นตึกที่งดงามในสมัยนั้น เพราะทางราชการเคยใช้ศุลกสถานตอนชั้นที่ 3 เป็นสถานที่เต้นรำของชาวต่างประเทศ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา แม้ต่อมาในสมัยพระวรงค์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ก็เคยใช้ศุลกสถาน เป็นที่เต้นรำในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา 2 - 3 ครั้ง รวมทั้งงานสมโภช เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากยุโรปคราวแรกด้วย

                         ต่อมา ได้เปลี่ยนมาเป็นที่ทำการตำรวจน้ำ (ศุลการักษ์ คนโดยทั่วไป เรียกว่าโบลิศน้ำ ภายหลังเรียกว่าพลตระเวน แล้วต่อมาเรียกตำรวจนครบาล หรือเรียกสั้นๆ ว่าตำรวจ มีหน้าที่ในทางน้ำคล้ายตำรวจนครบาล) เป็นที่ที่ทำการ ของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก เมื่อ พ.ศ. 2502 ปัจจุบัน อยู่ในความดูแลของกองตำรวจดับเพลิง 


4.สถานีรถไฟกรุงเทพ

 
         
      เดิมที สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งคำว่า หัวลำโพง สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามคลองและทุ่งที่มีฝูงวัวที่วิ่งกันคึกคัก ที่เรียกว่า ทุ่งวัวลำพอง และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น หัวลำโพง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้
    สถานีนี้สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายนพ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6
     สถานีรถไฟหัวลำโพง เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ
   ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค (Classicism) คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่วๆ ไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น