NEO - CLASSIC STYLE
สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่(Neoclassic) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเคลื่อนไหวของการเกิดศิลปะ แบบคลาสสิกใหม่ เนื่องจากการเกิดเผด็จการทางการเมืองการได้รับความเจ็บปวดจากสงคราม ทำให้ชาวยุโรปตะวันตกหันมาสนใจในศิลปะแบบคลาสสิคอีกครั้ง ศิลปะแบบคลาสสิคดสมัยใหม่ เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเกิดขึ้นจากการต่อต้านทุกระบบที่เป็นการแบ่งชนชั้นในฝรั่งเศส ซึ่งสมัยนั้นนิยมศิลปะแบบร็อกโคโค และแบบบาร็อก ซึ่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อและลายละเอียดมากจนเกินไป ประกอบกับการที่การพัฒนาในการค้นหาทางวิทยศาสตร์เกี่ยวกับด้านโบราณคดีในขณะนั้นนักโบราณคดีได้ขุดค้นเมืองกรีกโบราณ เมืองเฮอคูลาเนียน (1738)และเมืองปอมเปอี(1748) ได้พบศิลปะวัตถุล้ำค่า ในตอนต้นของยุคนี้จึงมีแนวคิดนำรูปแบบศิลปะโบราณกลับมาใช้ใหม่ ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีแนวคิดและการสร้างงานโดยการนำงานแบบงานโบราณมาปรับปรุงเกิดเป็นรูปแบบใหม่แต่ยังเคารพในแนวคิดที่เป็นแบบแผน ศิลปินยุคนี้จะย้อนกลับไประลึกกับงานสมัยโรมัน และโดยเฉพาะศิลปะในรูปแบบอุดมคติของของกรีก ได้รับอิทธิพลของหลักการและเหตุผลของยุคเรเนสซองช่วงศตวรรษที่ 16 ก่อนช่วงงานแบบบาร็อก
งานสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่พบทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความรุ่งเรืองมากในฝรั่งเศส
งานสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่พบทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความรุ่งเรืองมากในฝรั่งเศส
รูปแบบที่ NEO-CLASSIC นำมาใช้และเป็นลักษณะที่สังเกตได้ของ NEO-CLASSIC
- Symmetrical shape (รูปร่างที่สมมาตร)
-Tall column that rise the full height of building หรือ Colonion (เสาที่สูงขึ้นไปจนเต็มความสูงอาคาร)
-Triangular pediment (สามเหลี่ยมพิดิเมนต์ปิดด้านหน้าอาคาร)
-Domed roof (หลังคายอดโดม)
สถาปนิกที่มีชื่อเสียงในยุคกรีกโบราณที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกในยุโรปสมัยศิลปะคลาสสิคสมัยใหม่ในยุโรปหลายศตวรรษ คือ คือ ANDREA PALLADIO
รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคสมัยใหม่ในประเทศไทย
ถัดจากประตูเทวราชครรไลเข้ามาสู่เขตพระราชฐานชั้นนอก จะพบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปทาสีส้มแซมเขียวหลังงามองค์หนึ่ง จัดเป็นพระที่นั่งประธานท่ามหมู่พระที่นั่งทั้งหมดในพระราชวังบางปะอิน เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างของนายช่างอิตาเลียนนาม ซินยอร์กราซี (มิสเตอร์กราซี) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๑๙ พร้อม ๆ กับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิก "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิ สติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคาร ทั้งนี้ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน
สำหรับการตกแต่งภายในของพระที่นั่งวโรภาษพิมานนั้น เป็นผลงานการออกแบบของหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ภายในมีสิ่งที่น่าดูน่าชมคือ อาวุธโบราณ ตุ๊กตาหินสลักด้วยงานฝีมือประณีต ภาพเขียนสีน้ำอิงพระราชพงศาวดาร ภาพเขียนจากวรรณคดีไทยเรื่อง อิเหนา พระอภัยมณี สังข์ทอง จันทโครพ และสิ่งประดับอันล้ำค่ายิ่ง ได้แก่ แจกันสลับสีเขียนลายทองขนาดใหญ่ฝีมือช่างชิ้นเอกอุของญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งล้วนเป็นของบรรณาการแด่องค์ยุวกษัตริย์ทั้งสิ้น
ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิก "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิ สติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคาร ทั้งนี้ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน
2.พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระที่นั่งอนันตสมาคม เดิมเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระที่นั่งอนันตมหาสมาคม มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรสเนอซองค์ (Neo Renaissance) และนีโอคลาสสิก (Neo classic) โดยตกแต่งพระที่นั่งด้วยหินอ่อน ซึ่งสั่งมาจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี โดยมีจุดเด่น คือ มีหลังคาโดมคลาสสิกของโรมอยู่ ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆโดยรอบอีก 6 โดม รวมทั้งสิ้นมี 7 โดม ขนาดขององค์พระที่นั่ง ฯ ส่วนกว้างประมาณได้ 49.50 เมตร ยาว 112.50 เมตร และสูง 49.50 เมตร [3]
ภายในพระที่นั่ง บนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโก เขียนบนปูนเปียก ซึ่งภาพจะติดทนกว่าภาพที่เขียนบนปูนแห้ง (ภาพจิตรกรรมไทยนิยมเขียนแบบปูนแห้ง) เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1-6 จำนวน 6 ภาพ โดยฝีมือเขียนภาพของ นายซี. รีโกลีและศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี
พระที่นั่งองค์นี้ จัดได้ว่า เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เพราะว่า ในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ รัฐสภาปัจจุบัน ซึ่งอยู่ข้างๆพระที่นั่งองค์นี้ รวมทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญๆมากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคมและรับการถวายพระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชรพระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ภายในพระที่นั่ง บนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโก เขียนบนปูนเปียก ซึ่งภาพจะติดทนกว่าภาพที่เขียนบนปูนแห้ง (ภาพจิตรกรรมไทยนิยมเขียนแบบปูนแห้ง) เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1-6 จำนวน 6 ภาพ โดยฝีมือเขียนภาพของ นายซี. รีโกลีและศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี
3.สถานีรถไฟหัวลำโพง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น