วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Vernacular TRIP วันที่ 10 กรกฎาคม 2553 บ้าน อ.ทรงชัย /หอศิลปวัฒนธรรมไท - ยวน

Vernacular TRIP
วันที่ 10 กรกฎาคม 2553

 
บ้าน อ.ทรงชัย วรรณกุล

“อดีตอยู่กับเรา เป็นหลักฐานที่ควรสงวนไว้”

“การอยู่อย่างไทยเป็นอย่างไร”
สังคมเกษตรกรรมต้องมีลานดิน ถัดจากลานดินต้องมีไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ และสัตว์เลี้ยง เป็นองค์ประกอบของวิถีชีวิตความเป็นไทย 

                                                                                   ลานดิน > ตากข้าว , ทำกิจกรรม 
                                                                                   ลานดิน > แยกออกจากธรรมชาติ
                                                                                   ลานดิน > ซับน้ำลงดิน


การขุดคูน้ำรอบบ้าน  > มีน้ำให้ต้นไม้ = เพิ่มความชุ่มชื้นแก่พื้นที่ = เป็นส่วนตัว = สวยงาม = ป้องกันไฟ = รั้วป้องกันโจรผู้ร้าย


แนวความคิด : สังเกตการณ์ > หาข้อมูล การเก็บข้อมูลเบื้องต้น  เรื่องชาติพันธุ์ , ภูมิประเทศ จากชาวบ้านตามท้องไร่ ท้องนา จังหวัดต่างๆ เพื่อเรียนรู้เรื่องราวจากชาวบ้าน และรังสรรค์จิตวิญญาณออกมา (การเก็บข้อมูลเป็นมรดกทางวัฒนธรรม)

“ไปสังเกตคนแก่คนสูงอายุ ในบ้านมีจุดเพียงแคร่กับว่าน สวยงามแบบพื้นบ้าน เป็นทั้งพืชสมุนไพรเพื่อรักษาโรคด้วย “


ความโปร่งโล่ง เกิดความเป็นส่วนตัวโดยการขวางกั้นของตัวเรือนครัว ทำให้เกิด LIVING SPACE ขนาดใหญ่


เรือนหมู่มีข้อจำกัดในขนาดขื่อ เพราะไม่มีไม้ที่ยาวมาก จึงเกิดการสร้างแบบล้อมพื้นที่ ทำให้เกิดบรรยากาศแวดล้อมระหว่าง LANDSCAPE กับอาคาร



หอวัฒนธรรมไทยพื้นบ้านไท-ยวน 

“เป็นสถานที่ที่รับใช้ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี”

เพราะระบบของการวางกลุ่มอาคาร ไม่เป็นแบบไทยโบราณ การจัดวางเน้นประโยชน์การใช้สอยแบบปัจจุบัน  และในอดีตห้ามมีต้นไม้ทับเรือน (มีร่มไม้อยู่เหนือเรือนหรือใกล้เรือนมากๆ) จึงมีแต่ลานรอบๆเรือน ซึ่งในปัจจุบันสามารถทำได้ เพราะเน้นการใช้สอยมากกว่า แต่มีการวางเรือนล้อมรอบน้ำ ซึ่งบ้านไทยโบราณจะวางอาคารติดตลิ่งเพื่อการคมนาคมทางเรือ







เรือนทั้งสามหลังในส่วนของพิพิธภัณฑ์...บางส่วนก็ไม่ได้เป็นของหลังเดิม เนื่องจากการชำรุดเสียหายจากการถอดประกอบของช่าง โดยบางส่วนนำมาจากแต่ละอำเภอ แต่สามารถนำมาต่อเป็นหลังเดียวกันได้ เพราะมีระบบและระเบียบที่เหมือนกันหรือมีความคล้ายคลึงกันมาก

ชาวบ้านเรียกเรือนประเภทนี้ว่า “เรือนเครื่องเหยียบ” เพราะก่อนจะทำการถอดออกเป็นชิ้นๆนั้นจะต้องเหยียบให้ตัวไม้เกิดการอ่อนตัวก่อนหรือไม่ให้การเข้าไมแน่นเกินไป เมื่อทำการถอดจึงสามารถถอดออกได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นการทำลายตัวโครงสร้าง (เมื่อยิ่งเก่ามากก็สามารถเสียหายได้มาก หากไม่ทำการถอดอย่างระมัดระวัง)

อาคารที่เป็นประธานอยู่ตรงกลาง และอาคารแวดล้อมก็ลดหลั่น SCALE กันลงไป ตัวอาคารเหมือนสอดเข้าไปกับตลิ่ง เพราะตลิ่งมีความชันสูง จึงมีการปรับตลิ่งน้ำเป็นเวทีเพื่อการแสดง

การใช้ประโยชน์ของพื้นที่สามารถใช้ได้หลายประโยชน์ใช้สอยปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน เกิดเป็น”พื้นที่ทับซ้อน” (HIDDEN DIMENTION)

การวางกลุ่มอาคารและพืชพันธุ์แวดล้อม ทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมใต้ความลงตัวของร่มไม้เกิดเงาทอดลงบนลานดิน
มีต้นก้ามปูเป็นระนาบแบบ OVER HEAD FRAME มีระยะลึกตื้นชัดเจนไม่มีการอยู่โดดเดี่ยว อาคารช่วยดึง LANDSCAPE ให้เกิดระนาบและความสมดุล (องค์ประกอบของ SPACE กำหนด SPACE ด้วยระนาบ)

                                                                                                                  ความเป็นไทย = ความโล่ง
                                                                                                                  ความเป็นไทย = ยกใต้ถุนสูง
                                                                                                                  ความเป็นไทย = ลานดิน (ระนาบของพื้น)
                                                                                                                  ความเป็นไทย = ต้นไม้โอบล้อม
                                                                                                                 ความเป็นไทย = ศาลาที่เป็นพื้นที่พักผ่อน (LIVING SPACE)

เรือนแพมุงด้วย จาก , แฝกเพราะต้องการวัสดุมุงที่มีน้ำหนักเบา
ฝาขัดแตะ “ผนังหายใจได้” เพราะสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี

ทางขวามีการปลูกต้นปีบ ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่มากช่วยขับให้อาคารโดดเด่นขึ้นมา

“คุณค่าของการคัดสรรค์ อาจอยู่ที่เวลาว่าคนในยุคนั้นๆมองเห็น คุณค่าของสิ่งนั้นว่ามีคุณค่าอย่างไร”
“ไม่ใช่แค่ต้นไม้ , อาคาร แต่เป็นความสัมพันธ์ของคนและพื้นที่ = ชีวิต มันแทรกอยู่ในวิถีความเป็นอยู่แบบไทย”



ปล. TRIP วันนี้ไปกัเพื่อนๆสถ.ทุกคน และท่าน อ.อีกหลายท่านที่ให้ความรู้คนละมุมมอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น