วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Vernacular TRIP วันที่ 27 กรกฎาคม 2553 FIELD TRIP การเดินทางวันที่ 4 ลำปาง





Vernacular TRIP
วันที่ 27 กรกฎาคม 2553

27  กรกฎาคม 2553 การเดินทางวันที่ 4
9.20                        วัดปงสนุก
วัดปง สนุก

" อาคารเป็นเจดีย์ทรงล้านนา ลายประดับเสา ลายประดับคอสองมีเหลือน้อย  จึงต้องกลับมาศึกษาและอนุรักษ์ ทำให้ชาวบ้านหันมาหวงแหนสิ่งที่มีอยู่ หากไม่มีหลักฐานเหลือทิ้งไว้ก็เป็นปัญหาในการศึกษา แต่สามารถศึกษาจากอาคารประเภทใกล้เคียงได้ การได้ศึกษาของจริงแท้นั้นมีอยู่ว่า 1. เพื่อไม่ให้บิดเบือน 2. หารใช้วัสดุเหมาะสมกับประเภทอาคาร 3. ได้เทคนิคการก่อสร้างดั้งเดิม แต่ก็อยู่ที่การตัดสินใจของช่างในการตั้งสมมติฐาน หาเหตุผลอื่นมาสนับสนุนในการศึกษา" 
วิหารพระเจ้าพันตา(ทรงมณฑป) วัดปงสนุก

โครงสร้างวิหารพระเจ้าพันตา

การบูรณะทั้งตัวของมณฑป เนื่องจากเป็นทรงมณฑปจึงมีปัญหาเรื่องรอยรั่วค่อนข้างมาก ช่างแก้ปัญหาโดยการนำปูนมาอุดรอยรั่ว แต่มีการรื้อฟื้นการปูกระเบื้องหลังคาด้วย 

วัดปงสนุกมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองลำปาง คือเป็นสถานที่ดำน้ำชิงเมืองบริเวณด้านหน้าวัดของเจ้าฟ้าชายแก้ว (โอรสของพ่อเจ้าทิพย์ช้าง) และเจ้าลิ้นก่าน และเคยเป็นวัดสะดือเมือง ซึ่งเป็นสถานที่ฝังเสาหลักเมือง (เสาอินทนิล) หลักแรกเมื่อ พ.ศ. 2400 ซึ่งต่อมาถูกนำมาฝังที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในปัจจุบัน 

10.36                      วัดศรีรองเมือง

วัดศรีรองเมือง

มองลอดจากประตูทางเข้า
ภาพด้านหน้าอาคารศาลาการเปรียญ(กำลังทำการบูรณะ)


วัดศรีรองเมือง เป็นัดตระกูลสายไทนใหญ่ -พม่า เกิดขึ้นสมัย ร. 5 จากการที่ฝรั่งเข้ามาทำสัมปะทานป่าไม้ในเมืองไทย แล้วจ้างคนงานมะละเม่งมาตัดไม้ จึงเกิดเป็นเศรษฐีพม่าร่ำรวยจากการตัดไม้ก็สร้างวัดถวาย เมื่อทำบุญก็จะอุทิศให้เทวดา โบสถ์ได้ถูกแยกออกมา แต่ศาลาการเปรียญกับกุฏิของพระสงฆ์อยู่เชื่อมกัน อาคารหมู่ที่สำคัญแบ่งออกเป็นระดับชั้น 1. ประชาชน 2. เจ้านาย 3. พระสงฆ์  ในอดีตวัดนี้มีพระพม่ามาจำวัด แต่ในปัจจุบันเป็นพระฝั่งไทย ไม้ที่ใช้ลากมาโดยช้างพม่า จากแถบมัลดาเลห์

การซ้อนชั้นหลังคาไล่ระดับ
โครงสร้างหลังคา โดยไม่มีฝ้าปิด
การตกแต่งลายประดับภายใน
ภาพโครงสร้างหลังคา มองทะลุขึ้นไปเห้ฯการซ้อนชั้นหลังคาด้านบน




14.20                          ชุมชนเมืองแพร่บ้านแม่จอกนอก หมู่ที่ 8

ทิวทัศน์ด้านหน้าบ้านหลังแรก
ทางเข้าบ้านเป็นรั้วไม้

ลานด้านมองจากทางเข้าบ้าน



บ้านมีความเป็นพื้นเมืองค่อนข้างสูง แต่วัสดุเป็นวัสดุสมัยใหม่ไม่เน้นวัสดุพื้นถิ่น การอยู่เป็นแบบครอบครัวใหญ่ การวางกลุ่มอาคารกับลาน 

ด้านซ้ายยุ้งข้าว มองเห้นการใช้พื้นที่ใต้ถุนบ้าน
เรือนอีกหลัง มุมมองจากกลางลานด้านหน้า
ครัวเรือนหลังใหญ่


ระเบียบ คือการนำวัสดุมาใช้มีหลากหลาย การเจาะช่องจะเจาะตามประโยชน์ใช้สอย




รั้วบ้านใช้ไม้ไผ่ขัดสานกัน

กลุ่มบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ตรงหัวมุมถนน


15.30                      ออกจากแพร่
19.00                      ถึงสุโขทัย   เข้าพักโรงแรมสวัสดิพงษ์
20.10                      ตลาดโต้รุ่ง
22.18                      กลับมาโรงแรม
23.30                      zzz

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น