Vernacular TRIP
วันที่ 7 กรกฎาคม 2553
ทุ่งครุ
|
กลุ่มบ้านทุ่งครุ |
นาม = พฤติกรรม
รูป = เปลือกที่ห่อหุ้มพฤติกรรม
|
กลุ่มบ้านเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ |
การใช้วัสดุดั้งเดิม เป็นวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ใช้ร่มไม้ แต่เมื่อเข้าสู่โลกปัจจุบันมากขึ้นอาจมีการแปรเปลี่่ยนไปตามกระแสตามยุคสมัย มีการใช้วัสดุสมัยใหม่มาเข้าร่วมแต่ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับใช้ให้เข้ากับของเดิมที่มีอยู่
|
มองจากสะพานด้านบน กลุ่มอาคารครอบครัวขยาย |
|
พื้นที่การใช้งานภายในที่เป็นทั้ง LIVING SPACE และสำหรับต้อนรับแขก |
|
ขนาดอาคารมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เกิดจากการรวมกลุ่มอาคารแบบเครือญาติ ภายในมีเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ และมีการเล่นระดับเพื่อปรับเฟอร์นิเจอร์ได้
|
การจัดพื้นที่สำหรับพืชพันธุ์ |
|
สวนครัว ที่ยังไม่ได้มีการจัดการที่ดี |
พืชพันธุ์เป็นแบบท้องถิ่น สามารถปลูกได้ง่ายและมีประโยชน์ (สวนครัว) หากมีการจัดระเบียบให้ดีจะทำให้เกิด LANDSCAPE ที่น่าอยู่เป็นการอยู่แบบไทยแท้
|
การใช้พื้นที่ใต้ชายคา |
|
การใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ในชุมชน |
SCALEหลังคาแปลกกว่าบ้านโดยทั่วไป เพราะนอกจากใช้กันแดดกันฝน ยังสามารถใช้เป็นที่เก็บของวางของได้ อีกทั้งเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากการเดินมาสู่การนั่ง
|
การเปลี่ยน SPACE สู่การนั่ง |
|
ใช้เป้นทั้งบันไดและที่นั่งพักผ่อน |
การปลูกอาคารที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ อีกทั้งเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถในการอยู่อาศัย เป็นการแก้ปัญหาง่ายๆ โดยให้เข้ากับ HUMAN SCALE เป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ใช้สอยเหมะสมกับการดำเนินชีวิต
|
การใช้วัสดุสมัยใหม่รวมกับวัสดุจากท้องถิ่น แต่การจัดการพื้นที่โดยรอบยังไม่ดีนัก |
|
การใช้วัสดุสมัยใหม่รวมกับวัสดุจากท้องถิ่น |
อาชีพดั้งเดิมของเขตทุ่งครุนี้มีอาชีพปลูกจาก รายได้มีน้อย จึงมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการอยู่อาศัยตลอดอายุการใช้งานของแต่ละส่วน หากส่วนใดมีการชำรุดหรือเสียหาย ก็ทำการซ่อมแซมและต่อเติม
ร.ร.รุ่งอรุณ
ส่วนสำนักงาน ร.ร.รุ่งอรุณ
|
ลานโล่งใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรม |
|
การเปิดใต้ถุนโล่ง ตามเอกลักษณ์แบบไทย |
|
เลื่อนผนังเข้าด้านใน เพื่อใช้พื้นที่เป็นทางเดิน |
|
การใช้วัสดุสมัยใหม่ร่วมกันอย่างเหมาะสม |
ใช้รูปลักษณ์ของบ้านไทยมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการออกแบบ
โดยที่บ้านไทยดั้งเดิมมีการเปิดใต้ถุนโล่ง > ใช้พื้นที่ใต้ถุนเป็นห้องพักครูและสำนักงาน
มีการรวมกลุ่มอาคาร (GROUPING) ให้เกิดนอกชาน ปลูกไม้ไทยให้เกิดร่มเงาเอกลักษณ์ไทย การกั้นฝาไม่ติดเสาเลื่อนผนังเข้ามาทำให้เกิดระเบียงใช้ที่โล่งสลับกับทึบทำให้โปร่งสบาย การเชื่อม SPACE ทำโดยใช้วัสดุเดียวกัน SCALE เดียวกัน
|
รูปทรงอาคารเป็นสมัยใหม่มาก แต่ยังคงธรรมชาติแบบดั้งเดิม |
|
อาคารดูลักษณะเป็นสมัยใหม่ แต่ยังคงมีกลิ่นอายของความร่วมสมัย |
การออกแบบอาคารที่ได้รับค่านิยมจากต่างชาติ ได้จากการเก็บข้อมูลให้เหมาะสมกับประเทศทางตะวันออก เกิดการร่วมสมัยขึ้น ทำให้ภาษา MODERN กับท้องถิ่นสามารถอยู่ร่วมกันได้
การใช้ SPACE แบบไทยสอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ ต้นไม้และพืชพันธุ์ไม่เป็น FORMAL GARDEN
อาศรมศิลป์
|
นอกชานแบบโรงเรียนโบราณ |
การใช้วัสดุเพื่อสร้างสัญลักษณ์ให้กับอาคาร การใช้จากอาจเพราะต้องการสัญลักษณ์ของท้องถิ่น
การเล่นระเบียงแบบอาคารโรงเรียนโบราณ ใช้ระเบียบจากของเดิมนำมาปรับใช้ใหม่ ทำให้เกิดการลอยตัวของ SPACE หลังคาทิ้งชายออกมามากเพื่อป้องกันแดด และฝน
|
หลังคาเป็นแผ่นกระเบื้องใส กลอนไม้เว้นร่อง แล้วปิดด้วยวัสดุมุงประเภทแฝก |
ไม้เป็นวัสดุที่พัฒนามาจากท้องถิ่น แต่ในปัจจุบันไม้เป็นที่หายากจึงเป็นเหตุที่นำมาใช้ร่วมกับคอนกรีตและเพื่อให้เกิดความร่วมสมัย แต่การเลือกนำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ควรให้พอเหมาะไม่ให้ข่มวัสดุท้องถิ่น ไม้จริง + กระจก + คอนกรีต + จาก
|
ใช้วัสดุที่เหมาะสม ดูกลมกลืน |
|
นอกชานด้านหน้าอาคาร ใช้ทั้งเป็นทางเดินและที่นั่งพักผ่อน |
|
การเล่นระดับที่เกิดความสมดุล |
|
มุมมองจากด้านบน ลงไปยังพื้นที่ด้านล่าง |
สร้างความประทับใจของภาษาท้องถิ่น ความโปร่งโล่ง การเจาะช่อง การวางให้พื้นที่ให้เหมะสมเพื่อใช้ประโยชน์จากร่มเงา ทำให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานมักแฝงอยู่ในความเคยชินภาพแวดล้อม
***TRIP : TRIP วันนี้ไปกับเพื่อนภาค สน.ไปตั้งแต่เที่ยงกลับมาถึงคณะราวๆ 2 ทุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น