Vernacular TRIP
วันที่ 25 กรกฎาคม 2553
10.15 ถึงวัดไหล่หินหลวง
วัดไหล่หินหลวง
LECTURE อ.จิ๋ว
**** “ก่อนหน้านี้ปั้นลมของตัววิหารเป็นแบบภาคกลาง แต่กรมศิลปากรมาพัฒนาเปลี่ยนเป็นแบบลานนา มีกำแพงแก้วรายล้อม มีซุ้มประตูแบบล้านนา วิหารไม่มีการตีฝ้าเพดาน มีโบสถ์อยู่ด้านรอบวิหารคต ถัดออกมาก็เป็นอาคารที่เป็นสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ วัสดุใหม่ SCALEใหม่ ในขณะที่ของเก่ามีการล้อไล่กันของวัสดุทั้งขนาด และพื้นผิว หากทำการสร้างใหม่ก็ควรส้รางให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับตัวโบราณสถาณ ขยายแปรรูปให้กลมกลืนกัน ถึงแม่อาคารใหม่จะส้รางตามประโยชน์ใช้สอยได้จริงแต่ไม่มีความกลมกลืนของอาคารทั้งหมด วิธีที่ถูกต้องคือ 1.ปรับปรุงอาคารเก่า 2.อาคารใหม่ที่ทิ้งระยะจากอาคารเก่าการใช้วัสดุก็ควรให้เข้ากับอาคารเก่า การผดึง LANDSCAPE ที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับอาคารโดยยังคงอัตลักษณ์เดิมไว้ แล้วทำการออกแบบ LANDSCAPE ใหม่ให้เข้ากับอาคารและ LANDSCAPE เดิม“
ลานด้านหน้าสู่อาคาร |
วิหารหลวง |
ซุ้มประตูทางเข้า |
โครงสร้างหลังคาวิหาร |
การซ้อนชั้นหลังวิหารหลวง |
โครงสร้างหลังคาวิหาร |
การเพิ่มชั้นโครงสร้างหลังคา |
การซ้อนชั้นหลังคา |
วิหารคต |
มุมมองจากหน้าวิหารไปลู่ลานต้นโพธิ์ |
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
11.50 ออกจากวัดไหล่หินหลวง
12.15 วัดพระธาตุลำปางหลวง พักทานอาหาร
13.00 ศาลาหน้าบันไดทางเข้า วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
LECTURE อ.จิ๋ว
**** “อดีตหน้าพระธาตุลำปางหลวงโดยรอบเป็นบ่อน้ำ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นที่ทำกิจกรรมเอนกประสงค์ไปแล้ว ตัวพระธาตุหันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงใช้การก่อแบบโชว์แนวหิน ช่วยดึงเส้นตั้งของแนวบันไดเข้าสู่ PUBLIC SPACE ของลานโล่งด้านหน้า ถัดมาตัวซุ้มประตูทางเข้าอายุราว 400 ปี เหนือซุ้มประตูจะมีลายธรรมจักรอยู่ จะมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ล้อมรอบ หมายถึงกรแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า เรื่อง “ธรรมจักรกัปวัตนสูตร” ในอดีตแต่ละเมืองทางล้านนาจะมีพระธาตุประจำเมือง เช่น เชียงใหม – พระธาตุดอยสุเทพ น่าน –พระธาตุช่อแฮ ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงให้เจ้าเมืองล้านนาพระเจ้าติโลกราชมาสร้างพระธาตุลำปางหลวงจนแล้วสร็จ วัดพระธาตุลำปางหลวงมีทางเข้า 3 ทาง สมัยก่อนตัวพระธาตุจะเปิดให้เข้าได้เฉพาะวันพระเท่านั้นแต่ในปัจจุบันเพราะเรื่องการท่องเที่ยว ชาวบ้านที่มาสักการะจะเข้าทางพระธาตุจำลอง เมื่อสงกรานต์ชาวบ้านจะนำไม้ไปค้ำตรงลานต้นโพธิ์ ซึ่งหมายถึงการต่ออายุพระศาสนา“
บันไดทางเข้าพระธาตุลำปางหลวง |
ลานเจ้าแม่กวนอิม
**** “ สมัยก่อนบริเวณนี้เป็นลานทราย มีมีตัวกำแพง เนินไล่ขึ้นไปเป็นขั้นบันไดเป็นระยะยๆดูนุ่มนวล ไม่แข็งเหมือนในปัจจุบัน”
ลานเจ้าแม่กวนอิม |
ลานต้นโพธิ์
ลานต้นโพธิ์ชาวบ้านนำไม้มาค้ำเพื่อสืบพระศาสนา |
กลุ่มต้นตาล บริเวณลานต้นโพธิ์ |
ใช้ต้นตาลเป็นเส้นทางตั้งสลับกับระนาบใหญ่ของต้นโพธิ์
วิหารหลวง
ด้านหน้าวิหารหลวง |
ภายในวิหารหลวง |
โครงสร้างด้านในไม่มีการตีฝ้าปิดโครงสร้างหลังคาเดิม (200 ปี) |
การซ้อนหลังเพื่อดึงสายตาสู่ตัวพระธาตุ |
วิหารหลวงเป็น วิหารโถงไม่มีการตีฝ้าปิด เพื่อดู SPACE ระหว่างลานทรายกับวิหารคต การมองผ่านช่องเสากับวิหารเล็กๆโดยรอบ เห็นการเลื้อยของSPACE เกิดการเชื่อมต่อกันของพื้นที่ที่ เกิดความทึบบ้างไม่ทึบบ้างเกิดการเปลี่ยนมุมมองทางสาย
การใช้ลานกำหนดบริบทที่เกิดขึ้น การมอง SPACE จะเชื่อมกับ SPACE โดยใช้ลานเป็นตัวเชื่อม
พระธาตุลำปางหลวง |
วัดปงยางคก
วิหารพระแม่เจ้าจามเทวี |
**** “ สถานที่เกิดของพระเจ้าทิพย์ช้าง หลานชายพระเจ้ากาวิละ ชาวบ้านทางเหนือมีความเชื่อเกี่ยวกับต้นโพธิ์ เพราะเชื่อว่าต้นโพธิ์เป็นตัวแทนของพระศาสนา สัญลักษณ์ที่เด่นชัดของวัด คือตัวลานโพธิ์ “
วิหารพระแม่เจ้าจามเทวี
ด้านหน้าวิหาร |
โครงสร้างภายในไม่มีการตีฝ้าปิดโครงสร้าง |
ลักษณะการซ้อนหลังคาวิหารพระแม่เจ้าจามเทวี |
SPEACIAL FORM ที่เกิดขึ้น |
พระธาตุ |
ลานโดยรอบผสานกับพืชพันธุ์ |
17.10 บ้านเลขที่ 64 เป็นบ้านหลังคาทรง TUDOR สร้างเมื่อปี 2492
หลังคาทรง TUDOR |
“ มิติทางประวัติศาสตร์เป็นหน้าที่ของพวกเรา ”
การเชื่อมกันของอาคารทั้งสองหลัง แม้โครงสร้างหลังคาไม่ลงตัว แต่ใช้การเชื่อมหลังคาโดยสังกะสี |
“ ปัจจุบัน UNESCO หันมาอนุรักษณ์อาคารชุมชน มากกว่าที่สถาปนิกรุ่นใหม่ๆจะมองเห็น “
ช่างท้องถิ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตก การเล่นระดับเรื่อง MASS การเล่นหลังคาหลายระนาบ สังกะสีจึงมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเพราะสังกะสีเป็นวัสดุที่ FLEXIBLE ได้มากกว่าไม้จึงเป็นที่นิยมนำมาทำเป็นรางน้ำ
บ้านเก่าในหมู่บ้านเดียวกัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506
19.15 ตลาดโต้รุ่งนครลำปาง
20.45 ถึงโรงแรมที่พัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น